วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมี

           สมการเคมีที่ดุลแล้ว  ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของสารต่างๆ  ว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาดังนี้
           1.  ทำให้ทราบว่าสารใดเป็นสารตั้งต้น  และสารใดเป็นผลิตภัณฑ์
           2.  ปริมาณของสารตั้งต้นทำปฏิกิริยาพอดีกัน  และปริมาณของผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นว่ามีเท่าใด 
 ปริมาณในที่นี้หมายถึงจำนวนโมล  มวลของสารเป็นกรัม  ปริมาตรของแก๊สที่เป็น  dm3  หรือ  l  ที่  STP 
 รวมทั้งจำนวนโมเลกุลและจำนวนอะตอมด้วย


การคำนวณหาปริมาณสารจากสมการเคมีมีหลักดังนี้ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของสารในสมการเคมี
สมการเคมีที่ดุลแล้ว   CaCO3(s) +  2HCl(aq)    --->   CaCl2(aq)  +  H2O(l)    +  CO2(g)
จำนวนโมล              1                 2                        1                  1               1
จำนวนโมเลกุล         6.02×1023    2×6.02×1023       6.02×1023      6.02×1023  6.02×1023
มวล (g)                 100              2×36.5               111               18             44
ปริมาตรแก๊สที่STP(dm3) -            -                         -                  -               22.4

อ่านเพิ่มเติม

กฎทรงมวล

    กฎเกี่ยวกับมวลของสารซึ่งกล่าวว่า ผลรวมของมวลสารทั้งหมดภายในระบบปิดมีค่าคงตัวหมายความว่า มวลสารจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา อ่านเพิ่มเติม

สารละลาย

        สารละลาย (Solution) คือ สารเนื้อเดียวที่มีสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมกัน ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลายถ้าตัวถูกสารละลายและตัวทำละลายมีสถานะเดียวกันสารละลายที่มีปริมาณมากกว่าเป็นตัวทำละลาย แต่ถ้าสารทั้งสองมีสถานะแตกต่างกันสารที่มีสถานะเดียวกันกับสารละลายเป็นตัวทำละลาย อ่านเพิ่มเติม

มวลอะตอม

           ดอลตันได้พบว่าไฮโดรเจนเป็นธาตุที่อะตอมมีมวลน้อยที่สุด จึงเสนอให้ใช้ไฮโดรเจนเป็นธาตุมาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อหามวลอะตอมของธาตุอื่นๆ โดยกำหนดให้ไฮโดรเจน 1 อะตอมมีมวลเป็น 1 หน่วย ด้วยวิธีการเช่นนี้ อะตอมของคาร์บอนมีมวลเป็น 12 เท่าของไฮโดรเจนก็จะมีมวลเป็น 12 หน่วย อะตอมของออกซิเจนมีมวลเป็น 16 เท่าของไฮโดรเจนก็จะมีมวลเป็น 16 หน่วย ตัวเลขที่ได้จากการเปรียบเทียบมวลของธาตุ 1 อะตอมกับมวลของธาตุมาตรฐาน 1 อะตอม เรียกว่า มวลอะตอมของธาตุ อ่านเพิ่มเติม

แบบฝึกหัด

เฉลยแบบฝึกหัด 4.11
13. SO2(g) + H2S(g)  → S8 (l) + H2O(aq)
14. NaCl(s) + SO2(g) + H2O(g) + O2(g)  → Na2 SO4 (s) + HCl(g)              
เฉลย 
13. 8SO2(g) + 16H2S(g)  → 3S(l) + 16H2O(aq)
14. 4NaCl(s) + 2SO2(g) + 2H2O(g) + O2(g)  → 2Na2 SO4 (s) + 4HCl(g)


เฉลยแบบฝึกหัด 4.12
1. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ( NaHCO3 )8.40 กรัม ทำปฎิกิริยากับสารละลายกรดแอซีติก       ( C2H4O) 20.0 กรัม ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO) เกิดขึ้น หลังจากที่ปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว    ปรากฎว่ามีสารเหลืออยู่ทั้งสิ้น 24.0 กรัม แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นมีมวลกี่กรัม
ตอบ  มวลของ( NaHCO3 ) + มวลของ( C2H4O) = มวลของ( CO)ที่เกิดขึ้น + มวลของสารเหลืออยู่
                                                             8.4 g + 20.0 = มวลของ( CO)ที่เกิดขึ้น + 24.0
          ดังนั้น มวลของแก๊สCO2ที่เกิดขึ้น = 28.4-24.0 = 4.4 g